บทบูชาพระรันตรัย

                                 ๑.  บทบูชาพระรัตนตรัย
                 อิมินา   สักกาเรนะ   พุทธัง   อะภิปูชะยามิ.
                        อิมินา   สักกาเรนะ   ธัมมัง    อะภิปูชะยามิ.
                        อิมินา   สักกาเรนะ   สังฆัง    อะภิปูชะยามี.
                                           
การบูชาพระรัตนตรัยที่นิยมปฏิบัติกันคือ  ใช้....
๑.   ธูป  ๓  ดอก หมายถึง   การบูชาพระพุทธคุณ  ๓  ประการ  ได้แก่
       พระกรุณาคุณ  พระปัญญาคุณ
๒.  เทียน  ๒  เล่ม  หมายถึง  การบูชาพระธรรมและพระวินัย  อันเป็นคำสั่งสอน
      พระพุทธเจ้า
๓.  ดอกไม้  พวงมาลัย  หมายถึง  การบูชาคุณของพระสงส์
      อานิสงส์การบูชาพระรัตนตรัยเนืองนิตย์ทำให้ผู้นั้นเป็นคนมีเสน่ห์และแคล้วคลาด
      ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง
                                                                


              ๒.  บทกราบพระรัตนตรัย
                  อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ
               ภะคะวา,   พุทธัง   ภะคะวันตัง
               อะภิวาเทมิ.  (กราบ)
                        ส์วากขาโต   ภะคะวะตา
               ธัมโม,  ธัมมัง  นะมัสสามิ.  (กราบ)
                        สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต
               สาวะกะสังโฆ,  สังฆัง  นะมามิ.  (กราบ)


                                               
๑.บทนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔  ทรงพระราชนิพนธ์
ขึ้นเพื่อให้มีคำสำหรับไหว้พระครบทั้ง  ๓  รัตนะ  มีคำแปลโดยใจความว่า  "พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า   เป็นพระอรหันต์   ตรัสรู้เองโดยชอบ   ข้าพเจ้าอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า   ผู้รู้   ผู้ตื่น   ผู้เบิกบาน,  พระธรรม  อันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว   ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,  พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า   เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว  ข้าพเจ้า  ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงส์"
ผู้กราบไหว้พระรัตนตรัยเป็นนิตย์   ย่อมมีจิตใจโน้มเอียงไปในการทำความดี

                                                                    


                                   ๓. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
                              นะโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต
                       อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ.(สวด ๓ จบ)
                                                                
การน้อมนำรำลึกถึงพระพุทธเจ้าช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายได้  ดังเช่นครั้งพุทธกาล
มีเด็กคนหนึ่งเข้าป่าไปกับพ่อ   แต่พ่อมีธุระจึงกลับเข้ามาในเมืองก่อน  และกลับไปรับ
ลูกไม่ทัน  ลูกจึงต้องนอนอยู่ในป่า  ตกกลางคืนยักษ์จะมาจับกิน  แต่เด็กกำลังนึกถึง
พระพุทธเจ้า  จึงกล่าวออกไปเพียงว่า  นะโม  ตัสสะ  เท่านี้ก็ทำให้ยักษ์ไม่อาจเข้าใกล้
เด็กคนนั้นได้  โบราณาจารย์  กล่าวถึงอานิสงส์การสวดบทนอบน้อมพระพุทธเจ้าไว้ว่า
๑.  เพื่อเจริญรอยตามท่านผู้เป็นอริยบุคคล  คือ  พยายามฝึกฝนอบรมตนให้
      พ้นจากกิเลส
๒.  เพื่อขอพึ่งอำนาจของพระพุทธองค์ให้คุ้มครองตน
๓.  เพื่อช่วยประคับประคองใจให้เกิดมีความอุตสาหะในการดำเนินชีวิต
      อย่างถูกต้อง
๔.  เพื่อชำระใจของตนให้บริสุทธิ์   ด้วยการน้อมนำรำลึกถึงพระคุณของ
      พระพุทธองค์นำมาเป็นอารมณ์ในการฝึกสมาธิ
         (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์  กาสี  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)
       พิมพ์โดย พัสกร  กันทะรส
    

                                                               
              

๔.  บทขอขมาพระรัตนตรัย
            วันทามิ  พุทธัง  สัพพัง  เม  โทสัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต.
                วันทามิ   ธัมมัง  สัพพัง  เม   โทสัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต.
                วันทามิ   สังฆัง  สัพพัง  เม   โทสัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต.
                                                
การขอขมาลาโทษนี้  เป็นกุศโลบายที่ดีในการทำให้คนรู้จักยอมรับในความผิดพลาด
ของตนที่เผลอทำต่อผู้อื่น   โดยเฉพาะที่ทำต่อพระรัตนตรัย
           ผู้รวบรวมรู้สึกสำนึกในภูมิปัญญาของบรรพชนไทย  ที่คิดจารีตประเพณีสอดคล้อง
กับวิถีชีวิตสังคมไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ   ต้องเกี่ยวข้องกับวัดมาตั้งแต่เกิดจนกระทัง
ตาย  เช่น  ประเพณีสรงน้ำพระ   เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษที่อาจเผลอทำล่วงเกินทั้งโดย
ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ  การสวดบทนี้  มุ่งถึงการขออภัยต่อความผิดพลาดพลั้งต่อพระรัตนตรัย
ที่อาจเกิดจากการเผลอสติคิดในสิ้งไม่ดี  เพื่อให้ผู้สวดไม่มีเวรกรรมติดตัว

(เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์  กาสี  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)
พิมพ์เว็บ  พัสกร  กันทะรส
                                                             
       


 ๕. บทไตรสรณคมน์
พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ.
ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ.
                                   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ.
                    ทุติยัมปิ   พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ.
                    ทุติยัมปิ   ธัมมัง    สะระณัง   คัจฉามิ.
                    ทุติยัมปิ   ธัมมัง    สะระณัง   คัจฉามิ.
                    ตะติยัมปิ  พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ.
                    ตะติยัมปิ  ธัมมัง   สะระณัง    คัจฉามิ.
                    ตะติยัมปิ  สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ.
                                               
บทนี้เป็นการน้อมรับเอาพระพุทธเจ้า  พระธรรม  และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง  เหตุที่ต้อง
ว่าถึง ๓  ครั้ง  เพื่อเป็นการตอกย้ำจิตใจให้ระลึกอยู่เสมอว่า  ที่พึ่งอย่างอื่นของเรา
ผู้เป็นชาวพุทธไม่มี  พระรัตนตรัยเท่านั้นเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุด
       อานิสงฆ์การมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง  เป็นหนทางนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์
พ้นจากอบาย  คือหนทางที่นำไปสู่ความเสื่อม  เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ดังมีพุทธดำ
รัส  ตรัสไว้ว่า "ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า ,  พระธรรม ,  พระสงฆ์
เป็นสรณะที่พึ่ง  ชนเหล่านั้นละร่างกายมนุษย์นี้ไปเเล้วจักไม่ไปสู่อบายภูมิ  จักบังเกิด
เป็นเทวดาโดยสมบูรณ์"

(เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์  กาสี  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)
พิมพ์เว็บ  พัสกร  กันทะรส
                                                             


๖. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู
อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสารถิ  สัตถา
เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวา ติ

                                                                    
       พระพุทธคุณมี๙  ประการ ดังนี้  ทรงเป็น..1)  พระอรหันต์, 2)  ผู้ตรัสรู้อริยสัจธรรม
ด้วยพระองค์เอง,..3)ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติดี, 4) ผู้เสด็จไปไม่
ขัดข้อง, 5)  ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, 6)  บรมครูผู้ฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม, 7)  ครูผู้สอน
ของเทวดาและมนุษย์, 8)  ผู้รู้  คือ  ตรัสรู้อริยสัจธรรม, ผู้ตื่น  คือทรงตื่นจากความเชื่อ
และข้อปฏิบัติที่ยึดถือกันมาอย่างผิดๆ,  ผู้เบิกบานด้วยธรรม  คืออาการที่ทรงเกิดธรรม
ปีติในภาวะที่ทรงรู้และทรงตื่นนั้น, 9) ผู้มีความฉลาดในการจำแนกธรรม  ทำให้ทรง
เลือกธรรมที่จะแสดงได้อย่างเหมาะสม
      "ภิกษุทั้งหลายเมื่อเธอระลึกถึงเราคถาคตอยู่  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง
ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป"
(เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์  กาสี  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)
พิมพ์เว็บ  พัสกร  กันทะรส



                                                                                                  
     

๗. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
ส์วากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ)
                                  
พระธรรมคุณ มี ๖ ประการ ดังนี้ 1) เป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
2) เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามพึงเห็นผลได้ด้วยตนเอง,  3) เป็นธรรมที่ปฏิบัติ
ได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลเวลา, 4) เป็นธรรมที่ควรเชิญชวนให้พิสูจน์ได้ด้วยการ
ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง  เหมือนคนกินข้าว  ใครกินคนนั้นก็อิ่ม  การปฏิบัติธรรม
ก็เช่นกัน  ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้แจ้งประจักษ์ในใจของตนเองว่าสิ่งที่ตนทำนั้น
เป็นอย่างไร
      อานิสงส์การสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ  มีพุทธดำรัสไว้ในธชัคคสูตร
ว่า "ภิกษุทั้งหลายเมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง
ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป"
(เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์  กาสี  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)
พิมพ์เว็บ  พัสกร  กันทะรส



                                            

๘. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
  สุปะฏิปันโน         ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน         ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน     ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน     ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคลา เอสะ ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง
โลกัสสา ติ.
                        
พระสังฆคุณ มี ๙ ประการ ดังนี้ 1)เป็นผู้ปฏิบัติดีตามพระธรรมวินัย, 2) เป็น
ผู้ปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน, 3)เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์,
4) เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่ภาวะแห่งความเป็นภิกษุ, 5) เป็นผู้มีคุณความดีในตน
จึงสมควรรับเครื่องสักการบูชา, 6) เป็นผู้ควรแก่การต้องรับ, 7) เป็นสมควรรับของ
ที่เขานำมาทำบุญ, 8) เป็นผู้มีข้อวัตรปฏิบัติที่ผู้อื่นกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ,
9) เป็นผู้ทำให้ผลบุญที่บุคคลทำกับตนมีอานิสงส์มากยิ่งขึ้น
        อานิสงส์การสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ   ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง
ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป"
(เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์  กาสี  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)
พิมพ์เว็บ  พัสกร  กันทะรส